AUSTRALIA


Australia ประเทศออสเตรเลีย


ออสเตรเลียตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ ออสเตรเลียเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก



ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับออสเตรเลีย (Let's get ready)


ออสเตรเลียตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศไทย ลักษณะประเทศเป็นเกาะ ออสเตรเลียเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษเป็นประมุข นายกรัฐมนตรี เป็นฝ่ายบริหารประเทศ

พื้นที่ของเกาะมีประมาณ 7.6 ล้านตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลที่งดงาม ชายหาดขาวสะอาด มีป่าดงดิบและป่าชื้นเขตร้อนที่ยังคงความสมบูรณ์ และเป็นธรรมชาติที่สุดแห่งหนึ่ง พื้นที่ของประเทศมีทั้งแห้งแล้งและอุดมสมบูรณ์ ประมาณหนึ่งในสามเป็นทะเลทราย พื้นที่แถบชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐออสเตรเลียตะวันตก และรัฐทัสเมเนียมีความอุดมสมบูรณ์มาก ฝนตกชุก ที่นี่มีสัตว์และพืชรวมทั้งดอกไม้ป่าหลายชนิดที่ไม่สามารถพบเห็นได้ในดินแดนอื่น เช่น จิงโจ้ โคอะล่า วอมแบต ดิงโก้ พอสซั่ม ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด

สภาพภูมิอากาศ (Climate)

ฤดูใบไม้ผลิ

กันยายน - พฤศจิกายน

อากาศดี ดอกไม้บานสวยงาม

ฤดูร้อน

ธันวาคม - กุมภาพันธ์

อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัดและอาจมีไฟป่า

ฤดูใบไม้ร่วง

มีนาคม - พฤษภาคม

อากาศเริ่มเย็นลง ตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้และเมือง ในเขตป่า ฝนจะตกชุก บางแห่งอาจมีน้ำท่วม

ฤดูหนาว

มิถุนายน - สิงหาคม

อากาศเย็นจัดมีหิมะตกบนเขตภูเขาสูงโดยทั่วไป

วัฒนธรรม Culture


วัฒนธรรมของออสเตรเลียมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะแบบอังกฤษหรือแองโกล-เคลติก แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งพัฒนามาจากสภาพแวดล้อมและชนพื้นเมือง ในระยะหลัง วัฒนธรรมของออสเตรเลียยังได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกัน และ หลากหลายมากขึ้น เนื่องจาก ประชากรอพยพ เข้ามาอาศัย จากทั่วทุกมุมโลก

มลรัฐ มีทั้งหมด 6 มลรัฐ

  • รัฐนิวเซาท์เวลส์ (NEW SOUTH WALES ตัวย่อ NSW)
  • รัฐควีนส์แลนด์ (QUEENS LAND ตัวย่อ QLD)
  • รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (SOUTH AUSTRALIA ตัวย่อ SA)
  • รัฐแทสเมเนีย (TASMANIA ตัวย่อ TAS)
  • รัฐวิกตอเรีย (VICTORIA ตัวย่อ VIC)
  • รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (WESTERN AUSTRALIA ตัวย่อ WA)
 

สกุลเงิน ธนาคาร


สกุลเงินของออสเตรเลีย คือ เหรียญออสเตรเลีย หนึ่งเหรียญมีค่าเท่ากับ 100 เซนต์ เงินสกุลนี้ มีเหรียญ 5 เซนต์ 10 เซนต์ 20 เซนต์ 50 เซนต์ 1 เหรียญ และ 2 เหรียญ ส่วนธนบัตรมี 5 เหรียญ 10 เหรียญ 20 เหรียญ 50 เหรียญ และ 100 เหรียญ

ธนาคารหลักๆ เช่น ANZ, Commonwealth, National, Westpac และธนาคารในเครืออยู่ทุกแห่งมีสาขาอยู่ทั่วออสเตรเลีย และมีหลายแห่งที่ให้บริการตู้เอทีเอ็มตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งทุกตู้เอทีเอ็มรับบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารอื่น และสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายนานาชาติได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ Eftpos (การโอนเงินทางอีเล็กทรอนิกส์ ณ จุดซื้อขาย) ก็เป็นบริการแสนสะดวกที่ธุรกิจของออสเตรเลียหลายแห่งได้นำเข้ามาใช้แล้ว นั่นหมายความว่า ท่านสามารถใช้บัตรธนาคารของท่าน (บัตรเครดิตหรือเดบิต) ในการจ่ายค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้โดยตรง อีกทั้งยังสามารถเบิกเงินสดได้อีกด้วย

บัตรเครดิตอย่างเช่นบัตรวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดสามารถใช้บริการได้ทุกประเภท เช่น ถอนเงินสดล่วงหน้าที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร และจากตู้เอทีเอ็มหลายๆแห่ง ส่วนบัตรชาร์จการ์ดอย่างเช่นไดเนอส์คลับและอเมริกันเอ็กซ์เพรส (Amex) นั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับแพร่หลายเมื่อเทียบกับสองแบบแรก

การเปิดบัญชีธนาคารในออสเตรเลียเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้มาเยือนจากต่าง ประเทศ แต่ต้องทำภายใน 6 สัปดาห์หลังจากมาถึง เพียงแค่แสดงหนังสือเดินทางและแจ้งที่อยู่ให้ธนาคารทราบ ทางธนาคารก็จะเปิดบัญชีและส่งบัตรเอทีเอ็มให้ท่าน แต่หากท่านเปิดบัญชีหลังจากที่เข้าเมืองมาแล้วเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป ท่านต้องแสดงหลักฐานประจำตัวเพิ่มอีก ตัวอย่างเช่น หนังสือเดินทาง สูติบัตร และใบขับขี่สากลพร้อมรูปถ่าย


การทำงาน ขณะที่กำลังศึกษาในประเทศออสเตรเลีย


ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการเป็นนักศึกษาต่างชาติของ ออสเตรเลียคือ คุณได้รับอนุญาตให้ทำงานพิเศษได้ (วีซ๋านักเรียนของประเทศออสเตรเลีย สามารถทำงานได้ 40 ชั่วโมงต่อสองสัปดาห์) ระหว่างที่คุณเรียนอยู่ อย่างไรก็ตาม คุณไม่มีสิทธิเริ่มทำงานจนกว่าคุณจะได้เริ่มเรียนในหลักสูตรที่ลงทะเบียนไว้ และหากคุณมีครอบครัวของคุณเป็นวีซ่าผู้ติดตามมาด้วย ผู้อยู่ในอุปการะของคุณจะมีสิทธิทำงานได้ไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสองสัปดาห์เช่นกัน เมื่อคุณได้เริ่มเรียนหลักสูตรของคุณในออสเตรเลียแล้ว อย่างไรก็ตามในกรณีที่คุณได้เริ่มเรียนหลักสูตรในระดับปริญญาโทหรือเอกไป แล้ว ผู้อยู่ในอุปการะของคุณก็จะมีสิทธิทำงานได้โดยไม่จำกัดชั่วโมง แต่ถ้าคุณหรือผู้อยู่ในอุปการะของคุณทำงานเกินกว่าข้อกำหนดข้างต้น วีซ่า ของคุณอาจจะถูกเพิกถอนได้

คุณไม่จำเป็นต้องมีตราประทับวีซ่า (Visa label) ในหนังสือเดินทางของคุณเพื่อแสดงให้นายจ้างของคุณทราบว่าคุณได้รับอนุญาตให้ ทำงาน เพราะข้อมูลวีซ่าของคุณจะถูกเก็บไว้บนศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดย DIBP (Department of Immigration and Border Protection) และสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาโดยใช้ระบบให้บริการตรวจสอบสิทธิวีซ่าออนไลน์ (VEVO) ดังนั้น นายจ้าง ธนาคาร และหน่วยงานบริการของรัฐก็จะสามารถตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิวีซ่าของ คุณได้ทาง VEVO เมื่อคุณยินยอมให้ตรวจสอบได้ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้บริการระบบ VEVO ได้จากเว็บไซต์ของ DIBP(http://www.immi.gov.au/Services/Pages/vevo.aspx)


ประเภทงานที่นักศึกษาต่างชาติทำได้


นักศึกษาต่างชาติมักจะได้งานทำในธุรกิจค้าปลีก การบริการ และงานธุรการ คุณจะได้ค่าแรงประมาณชั่วโมงละ A$6-15 เหรียญออสเตรเลีย ขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่ทำและอายุของคุณ คุณอาจได้ค่าแรงมากกว่านี้หากทำงานในวันอาทิตย์หรือวันหยุดราชการ

การสอนพิเศษเด็กนักเรียนในสาขาที่คุณกำลังศึกษา อยู่หรือการสอนภาษาของคุณก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีในการหารายได้เช่นกัน การสอนพิเศษจะมีรายได้ประมาณ A$40 เหรียญออสเตรเลียต่อชั่วโมง


หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี


คุณต้องขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Tax File Number - TFN) จากทางกรมสรรพากรออสเตรเลีย หากคุณต้องการจะทำงานในออสเตรเลีย นอกจากข้อมูลชื่อที่อยู่ปัจจุบันและวันเกิดแล้วคุณอาจจำเป็นต้องแจ้งวันที่เดินทางมาถึงออสเตรเลีย

รวมทั้งแสดงหนังสือเดินทางและหลักฐานการลงทะเบียนเรียนของคุณด้วย หมายเลข TFN ของคุณมีค่ามากห้ามบอกให้เพื่อนทราบ และห้ามให้หมายเลข TFN ของคุณทางอินเตอร์เน็ตเวลาที่สมัครงาน ควรเก็บรักษาให้ปลอดภัย

 

ขอวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย ทำกันอย่างไร (About apply student visa)


หลักสูตรที่สั้นกว่า 3 เดือนนั้นคุณจะสามารถเรียนได้โดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว หรือวีซ่าท่องเที่ยวและทำงาน ดังนั้นหากคุณวางแผนว่าจะศึกษานานกว่า 3 เดือน คุณต้องขอวีซ่านักเรียน


สิทธิของวีซ่านักเรียนมีดังนี้


  • ได้รับอนุญาตให้เรียนคอร์สต่างๆได้มากกว่า 3 เดือน
  • ได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ถูกต้องตามกฏหมายได้ สัปดาห์ละไม่เกิน 20 ชั่วโมง
  • ได้รับส่วนลดต่างๆจากสถานบริการในราคานักเรียนนักศึกษา เช่น โรงภาพยนตร์ ยกเว้นแต่ระบบคมนาคมเช่น รถไฟ รถประจำทาง เรือเฟอร์รี่ ที่จะต้องจ่ายให้ราคาปกติ

การยืนขอวีซ่านั้น สามารถทำได้ทันที ที่เราได้รับเอกสารตอบรับจากสถาบันการเรียนที่เราสมัครไว้ เรียกว่า OFFER LETTER และที่สำคัญที่สุด เราจำเป็นจะต้องการเอกสารยืนยันการลงทะเบียนในแต่จะคอร์สเรียนนั้นๆด้วย เรียกว่า Confirmation of Enrollment หรือ COE นั้นเอง

เอกสารของนักเรียน (เอกสารทุกอย่างต้องแปลภาษาอังกฤษด้วย) เอกสารทั้งหมดขออย่างละ 2 ชุด


  • หนังสือเดินทาง (ตัวจริง)
  • รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ (ถ่ายรูปหน้าใหญ่ๆ ประมาณ 80% ของรูป เหมือนรูปถ่ายใน passport)
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาสูติบัตร (สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี)
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข)
  • สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบหย่า (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข)
  • ผลการเรียน (transcript) ภาษาอังกฤษ
  • จดหมายรับรองการทำงาน (ภาษาอังกฤษ) ตั้งแต่เรียนจบ มีกี่ที่ขอทุกที่ที่เคยทำงานมา หรือ ใบทะเบียนการค้าและหนังสือรับรอง ในกรณีที่ทำธุรกิจส่วนตัว กรณีที่ยังเรียนอยู่ ให้ขอจดหมายรับรองความเป็นนักเรียน นักศึกษา (ภาษาอังกฤษ)
  • slip เงินเดือนย้อนหลัง 5-6 ใบ
  • สำเนาใบเสร็จการเสียภาษีย้อนหลัง 5-6 ใบ
  • ประกาศนียบัตรที่เรียนภาษา ณ ประเทศออสเตรเลีย (ถ้ามี)
  • หากเคยขอวีซ่าออสเตรเลียมาก่อน ให้สำเนาหน้าวีซ่าของออสเตรเลียมาให้ด้วย (ทุกหน้าที่เคยได้วีซ่าออสเตรเลีย)
  • จดหมายแนะนำตัว และเหตุผลในการไปเรียนที่ออสเตรเลีย (เนื้อหาที่เขียนให้บอกว่าตัวเราเป็นใคร เรียนจบอะไรมา เมื่อไร ปัจจุบันทำงานอะไร เหตุผลที่เลือกเรียนต่อที่ออสเตรเลีย ทำไมถึงเลือกเรียนหลักสูตรนี้ เรียนจบแล้วนำความรู้ที่ได้กลับมาทำอะไรต่อในอนาคต)

หมายเหตุ: กรณีที่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องแนบเอกสารของผู้ปกครอง (บิดาและมารดา) เอกสารทุกอย่างใช้ทั้งภาษาไทยและตัวแปลภาษาอังกฤษ ดังนี้
  • สำเนา passport (ถ่ายสำเนาสี) พร้อมลายเซ็นต์เหมือนที่เซ็นต์ใน passport กำกับด้านล่างมุมขวา โดยต้องเขียนข้อความตามนี้
    Certified True Copy ลายเซ็นต์
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล (ทุกฉบับที่เคยมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข)

เอกสารของ SPONSOR (เอกสารทุกอย่างต้องแปลภาษาอังกฤษด้วย) เอกสารทั้งหมดขออย่างละ 2 ชุด


  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนสมรส หรือใบหย่า
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข)
  • จดหมายรับรองการทำงาน (ภาษาอังกฤษ) หรือใบทะเบียนการค้าและหนังสือรับรอง ในกรณีที่ทำธุรกิจส่วนตัว
  • slip เงินเดือนย้อนหลัง 5-6 ใบ
  • สำเนาใบเสร็จเสียภาษีย้อนหลัง 5-6 ใบ
  • หากเป็นชาวไร่ชาวสวน ให้ขอเอกสารที่บ่งบอกการเป็นเกษตรกรกำกับด้วย และหรือ ใบเสร็จการรับซื้อขายผลผลิต
  • ใช้สมุดธนาคารตัวจริง(บัญชีออมทรัพย์) ที่มียอดการเดินปัญชีย้อนหลัง 6 เดือน ซึ่งวงเงินที่ใช้โชว์ประมาณ 6 แสนขึ้นไป (สำหรับเรียนภาษา 6 เดือน) วงเงินประมาณ 1 ล้านบาทขึ้นไป (สำหรับหลักสูตร 2 ปีขึ้นไป)
  • จดหมายเหตุผลที่ให้การสนับสนุน การเงินให้ไปเรียน (เนื้อหาให้บอกว่า sponsor เป็นใคร มีความสัมพันธ์อะไร ยังไงกับผู้ยื่นเรื่องขอวีซ่า และปัจจุบัน sponsor ทำอะไร ที่ไหน ตั้งแต่เมื่อไร รายได้ต่อเดือนประมาณเท่าไร ทำไมถึงยินยอมมาเป็น sponsor ให้ (เหตุผล))

หมายเหตุ: กรณีที่ผู้สนับสนุน (SPONSOR) ไม่ใช่บิดามารดา จะต้องมีเอกสารโยงความสัมพันธ์เพิ่มเป็นทอดๆ ด้วยนะค่ะ ซึ่งเอกสารที่ใช้โยงความสัมพันธ์
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยนแก้ไขชื่อนามสกุล)
  • สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบหย่า

เช่น น้องสาวแม่เป็น sponsor เอกสารที่โยงความสัมพันธ์ก็จะเป็นเอกสารของแม่


หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบได้ที่ VFS หรือแผนกวีซ่าของสถานทูตออสเตรเลีย
*** ไม่มีการคืนค่าธรรมเนียมวีซ่าของสถานทูต และ VFS ไม่ว่าจะได้รับการพิจารณาวีซ่าหรือไม่***

การยื่นใบสมัครขอวีซ่าผ่านทางสำนักงานเพื่อการยื่นขอวีซ่าออสเตรเลียนั้นไม่มีผลใด ๆ ต่อการพิจารณาวีซ่า ข้อกำหนดในการขอวีซ่ายังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สถานฑูตออสเตรเลียเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติวีซ่า โดยประเมินจากคุณสมบัติของ ผู้ยื่นขอวีซ่าตามข้อกฎหมายและนโยบายของประเทศออสเตรเลีย พนักงานของสำนักงานเพื่อการยื่นขอวีซ่าออสเตรเลียไม่ใช่เจ้าพนักงานของรัฐบาลออสเตรเลีย และไม่มีอำนาจใด ๆ ในการให้คำปรึกษาหรืออนุมัติวีซ่า

สถานพยาบาลที่อนุญาตให้ไปตรวจร่างกายเพื่อใช้ในการขอวีซ่านักเรียน ประเทศออสเตรเลีย

BANGKOK
Bangkok General Hospital
รพ. กรุงเทพ
2 Soi Soon Vichai 7
New Phetchburi Road - 10310
Telephone: +66 2 310 3000
Fax: +66 2 310 3335
Bangkok Nursing Home (BNH) Hospital
9/1 Convent Road
Silom, Bangkok 10500
Telephone: +66 2 686 2700
Fax: +66 2 686 2849
UDONTHANI
Aek Udon International Hospital
รพ. เอกอุดร
555/5 Posri Road
Amphur Muang
Udonthani 41000
Telephone: +66 42 342 555
Fax: +66 42 341 033
CHIANGMAI
Chiangmai Ram Hospital
รพ. เชียงใหม่ราม
8 Boonruangrit Road A. Muang
Chiangmai 50200
Telephone: +66 53 920 300
Fax: +66 53 224 880
PHUKET
Bangkok Hospital Phuket
รพ. กรุงเทพ-ภูเก็ต
2/1 Hongyok – utis Road
Taladyai, Muang
Phuket, 83000
Telephone: +66 76 25 4421
Fax: +66 76 25 4421 ext 1351

กินอยู่กันอย่างไร (Accommodation and lifestyle)

Home Stayอยู่กับครอบครัวชาวออสเตรเลีย (ราคา AUD$ 120-300 ต่อสัปดาห์)

เป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่อยากรู้จักและใช้ชีวิตแบบคนออสเตรเลีย และยังได้ประโยชน์จากความปลอดภัยและการดูแลของครอบครัว ปกติค่าที่พักจะรวมอาหารมื้อเช้าและเย็นในวันจันทร์-ศุกร์ และอาหารมื้อเช้า กลางวัน และเย็นในวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ก็มีที่พักบางที่ที่คุณสามารถจัดหาอาหารของตนเองได้ มีห้องพักทั้งแบบอยู่คนเดียวและอยู่รวมกับผู้อื่น


แบ็คแพ็คเกอร์หรือเกสท์เฮาส์ (ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ AU$80-135 ต่อสัปดาห์)

ปกติแล้วบ้านพัก (Hostel) จะดำเนินงานโดยองค์กร เช่น “Youth Hostels Australia” และ “Young Men's Christian Association (YMCA)” สำหรับที่พักแบบนี้ นักศึกษาจะต้องใช้ห้องครัวและห้องน้ำร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับการเดินทางท่องเที่ยว และพักในระยะสั้น ชั่วคราวเท่านั้น


ที่พักแบบเช่าอาศัยอยู่รวมกันบ้านเช่า (Apartment or Condomedium) (ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ AUD$70-250 ต่อสัปดาห์ หรือ AUD$100-400 ต่อสัปดาห์)

ยอดนิยมที่สุดในซิดนีย์ ที่พักนอกวิทยาเขตที่เช่าอยู่รวมกันนั้นเป็นที่นิยมมากในหมู่นักศึกษาต่างชาติ คุณสามารถหาข้อมูลที่พักได้จากโฆษณาบนกระดานประกาศของทางสถาบันและในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ส่วนใหญ่คุณต้องหาเฟอร์นิเจอร์เอง อพาร์ทเม้นเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะมาพร้อมกับ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆมากมายเช่น GYM สระว่ายน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้เวลาเช่าบ้าน อพารท์เมนต์ หรือห้องเช่าแบบห้องนอนและที่นั่งเล่นอยู่ในห้องเดียวกัน (Bed sitter) ผู้ให้เช่าจะให้คุณจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า และต้องวางเงินประกันจำนวนเท่ากับค่าเช่าสองสัปดาห์ถึงเดือน


โรงเรียนประจำ (ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ AU$10,000-20,000 ต่อเทอม)

ส่วนใหญ่สำหรับนักเรียนระดับประถม หรือ มัธยมเท่านั้น และเป็นของเอกชนอีกด้วย โดยจะมีบริการทั้งอาหารและบริการซักรีดให้กับนักเรียนต่างชาติในบางแห่ง หมายเหตุ ***อัตรานี้ไม่รวมค่าเล่าเรียน


ที่พักในมหาวิทยาลัย (ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ AU$80-250 ต่อสัปดาห์)

มหาวิทยาลัยส่วนมากและสถาบันการศึกษาและการฝึกอบรมสายอาชีพบางแห่งจะให้บริการที่พักหลายรูปแบบ ทั้งในหรือใกล้บริเวณวิทยาเขต เช่น อพาร์ทเมนต์ ที่พักในมหาวิทยาลัย เช่น Residential colleges หรือ Halls of residence ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปตามประเภทของที่พัก

Residential colleges จะแพงกว่าที่พักแบบอื่นเล็กน้อย โดยมีที่พักให้พร้อมอาหาร นอกจากนี้ยังมีสถานที่เล่นกีฬาและห้องนั่งเล่น ห้องเรียน ห้องสมุด และห้องคอมพิวเตอร์

Halls of residence จะตั้งอยู่ในหรือใกล้กับบริเวณวิทยาเขต ปกติแล้วจะมีบริการอาหารและทำความสะอาดให้กับนักศึกษาด้วย นักศึกษาจะต้องสมัครล่วงหน้าแต่เนิ่น ๆ เพราะมีผู้ต้องการที่พักแบบนี้เป็นจำนวนมาก