United States of America


ประเทศสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ ประกอบไปด้วยรัฐ 50 รัฐ โดยมีมลรัฐ Alaska อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา และมีมลรัฐฮาวายอยู่ทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก



ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกา (Let's get ready)


ประเทศสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ ประกอบไปด้วยรัฐ 50 รัฐ โดยมีมลรัฐ Alaska อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา และมีมลรัฐฮาวายอยู่ทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก มีเนื้อที่ประมาณ 9,631,418 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดา

สภาพภูมิอากาศ (Climate)


ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีอากาศหนาว เว้นแต่ในมลรัฐฮาวาย และมลรัฐฟลอริดา อากาศจะหนาวเย็นมากที่บริเวณขั้วโลกเหนือในมลรัฐอะแลสกา บริเวณที่ราบด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi) จะค่อนข้างแห้งแล้ง และมีความแห้งแล้งมากบริเวณที่ลุ่มภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะมีอากาศดีขึ้นเป็นครั้งคราวในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยจะได้รับความอบอุ่นจากลมของเนินเขาด้านตะวันออกของเทือกเขาร๊อกกี้

ฤดูใบไม้ผลิ

มีนาคม - พฤษภาคม

อากาศดี ดอกไม้บานสวยงาม

ฤดูร้อน

มิถุนายม - สิงหาคม

อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัดและอาจมีไฟป่า

ฤดูใบไม้ร่วง

กันยายน - พฤศจิกายน

อากาศเริ่มเย็นลง ตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้และเมือง ในเขตป่า ฝนจะตกชุก บางแห่งอาจมีน้ำท่วม

ฤดูหนาว

ธันวาคม - กุมภาพันธ์

อากาศเย็นจัดมีหิมะตกบนเขตภูเขาสูงโดยทั่วไป

สกุลเงิน ธนาคาร


สกุลเงินประจำชาติสหรัฐอเมริกา คือ ดอลลาร์ (US Dollar, USD, US$) โดยที่ $1 จะเท่ากับ 100 เซ็นต์ (cents) ธนาคารในสหรัฐอเมริกาเปิดให้บริการแก่ประชาชนอยู่มากมาย การจะตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารใดนั้น นักเรียนควรเลือกที่อยู่ใกล้สถานศึกษาหรือที่พัก รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการให้บริการต่างๆ และมีเครื่อง ATM มากพอ เพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ โดยทั่วไปธนาคารในสหรัฐอเมริกาจะเปิดให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่ 9.00 - 15.00 น. ส่วนในวันเสาร์อาจเปิดให้บริการตั้งแต่ 9.00 - 12.00 น. และหยุดให้บริการในวันอาทิตย์


รายชื่อธนาคาร และการติดต่อ

การเปิดบัญชี

การเปิดบัญชีธนาคารที่อเมริกา มีสองบัญชีหลักๆ ที่ทำกันคือ บัญชี checking account และ บัญชี saving account สามารถทำได้โดยไปติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคาร หรือจะเปิดบัญชีออนไลน์ แล้วค่อยเอาเงินไปเข้าเอทีเอ็มก็ได้


บัญชี checking account

เป็นบัญชีออมทรัพย์ที่ ไม่มีดอกเบี้ยหรือบางธนาคารอาจมีดอกเบี้ยให้เล็กน้อย บัญชีประเภทนี้จะมีสมุดเช็คให้ และจะมีสมุดเล่มเล็กๆ อีกหนึ่งเล่ม เพื่อให้นักเรียนบันทึกเงินเข้าเงินออกในบัญชีทุกครั้งที่เขียนเช็ค เพื่อที่ว่าจะได้รู้ว่าเงินในบัญชีเหลือเท่าไร วิธีนี้ได้รับความนิยมสำหรับคนที่ไม่พกบัตรเครดิต แต่วิธีนี้นักเรียนจะต้องระวังปัญหาเรื่องเช็คเด้ง หากเขียนเช็คออกโดยไม่ติดตามการใช้ทุกครั้งที่จ่ายไป เพราะหากเช็คเด้งธนาคารและร้านค้าจะชาร์จค่าธรรมเนียมทันที นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถเลือกใช้แบบเป็นเดบิตการ์ดเพื่อใช้รูดซื้อของได้ ไม่จำกัดครั้งในแต่ละเดือน โดยไม่ถูกจำกัดว่าจะต้องมีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีเท่าไหร่


บัญชี saving account

เป็นบัญชีออมทรัพย์แบบมีดอกเบี้ยให้ด้วย แต่ทางธนาคารจะมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีเงินในบัญชีเท่าไร หากเหลือเงินต่ำกว่าที่กำหนดจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการฝากเงินด้วย บัญชีประเภทนี้นักเรียนก็สามารถขอใช้เดบิตการ์ดได้เช่นกัน แต่ธนาคารจะมีการกำหนดจำนวนครั้งในการรูดซื้อสินค้า นอกจากนี้เวลาไปเปิดบัญชีควรแจ้งกับทางธนาคารหรือแสดงบัตรนักเรียนด้วย เพื่อที่ทางธนาคารจะได้ออกเป็นบัญชีสำหรับนักเรียนให้ ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ

ก่อนทำการเปิดบัญชีควรสอบถามเงื่อนไขต่างๆของบัญชีแต่ละประเภทให้แน่ใจก่อน และบางธนาคารจะส่งสมุดเช็คและบัตรกดเงินสดมาให้ทีหลังตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ นักเรียนควรถามระยะในการส่งเผื่อเกินกำหนดที่ธนาคารแจ้งไว้แล้วยังไม่ได้รับ จะได้สามารถติดตามทวงถามจากธนาคารได้ เพื่อป้องกันสมุดเช็คและบัตรเงินสดตกอยู่ในมือผู้อื่น เมือได้มาแล้วควรตรวจสอบชื่อ นามสกุล และเลขที่บัญชีว่าถูกต้องหรือไม่


เอกสารที่ต้องใช้ในการเปิดบัญชี

บัตรที่มีรูปถ่าย เช่น ใบขับขี่ของอเมริกา บัตรนักศึกษาของโรงเรียนที่ศึกษาอยู่ พาสปอร์ตของประเทศไทย หรือถ้ามีบัตรเงินสด (debit card) ของธนาคารอื่นในอเมริกาก็สามารถใช้ได้

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.kbeautifullife.com

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง:
Work and Study in USA with ILSC

 

ขอวีซ่านักเรียนประเทศสหรัฐอเมริกา ทำกันอย่างไร (About apply student visa)

วีซ่านักเรียนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
เอกสารประกอบการขอวีซ่านักเรียนมีดังนี้
  • หนังสือเดินทาง (Passport) เล่มปัจจุบัน โดยต้องมีอายุเหลือไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในวันเดินทาง และหนังสือเดินทางเล่มก่อนที่มีวีซ่าสหรัฐฯ (ถ้ามี)
  • ใบคำร้อง DS-156 โดยต้องกรอกผ่านทางเว็บไซต์เท่านั้นที่ evisaforms.state.gov/ds156.asp และจะต้องทำการพิมพ์ออกมาเพราะในแบบฟอร์มจะมี Barcode อยู่
  • ใบคำร้อง DS-157 ท่านสามารถดาวโหลดแบบฟอร์มได้ที่เวบไซต์ โดยจะพิมออกมาเขียนด้วยปากกา หรือว่าจะคีย์แล้วปริ้นออกมาก็ได้ที่ www.state.gov/documents/organization/126741.pdf
  • ใบคำร้อง DS-158 ท่านสามารถดาวโหลดแบบฟอร์มได้ที่เวบไซต์ โดยจะพิมออกมาเขียนด้วยปากกา หรือว่าจะคีย์แล้วปริ้นออกมาก็ได้ที่ www.state.gov/documents/organization/79965.pdf
  • รูปถ่ายขนาด 2 x 2 นิ้ว (5 x 5 ซม.) ที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน โดยฉากหลังของรูปต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ไม่มีขอบ ใบหน้าต้องมีขนาดใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่รูปถ่าย ต้องเห็นใบหูทั้ง 2 ข้าง เมื่อวัดตามแนวตั้ง ส่วนหัวของผู้สมัครจะต้องมีขนาด 1 นิ้วถึง 1 3/8 นิ้ว (2.5 ถึง 3.5 ซม.) รูปถ่ายจะต้องเห็นใบหน้าทั้งหมด โดยผู้สมัครจะต้องหันหน้าตรงเข้ากล้อง
  • ใบเสร็จค่าธรรมเนียมในการยื่นคำร้องขอวีซ่าเป็นเงิน 4,454 บาท โดยจ่าย ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่ร่วมโครงการ ท่านสามารถดูได้จากที่นี่ bangkok.usembassy.gov/root/pdfs/nivchecklist.pdf
  • ค่า SEVIS (Student and Exchange Visitor Information System) จำนวน 200 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบที่บันทึกข้อมูลของนักศึกษาต่างชาติและนักเรียนแลกเปลี่ยนในสหรัฐฯ ท่านสามารถชำระได้ทางเวบไซต์ www.fmjfee.com
  • I-20 ที่ออกโดยสถาบันการศึกษาที่จะไปเรียน
  • หลักฐานถิ่นที่อยู่ของนักเรียนภายนอกสหรัฐฯ - ผู้ยื่นคำร้องจะต้องแสดงให้เจ้าหน้าที่กงสุลเห็นว่า ท่านไม่มีความประสงค์ที่จะเป็นบุคคลเข้าเมืองถาวร การยื่นขอวีซ่าประเภทธุรกิจ/ท่องเที่ยว หมายถึงผู้ยื่นคำร้องกำลังขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯเป็นการชั่วคราว ก่อนที่ทางกงสุลจะออกวีซ่าเข้าเมืองชั่วคราว ผู้ยื่นขอวีซ่าต้องบอกกล่าวอย่างชัดเจนว่าท่านไม่มีความประสงค์ที่จะเข้าไปอยู่ในสหรัฐฯ เป็นการถาวร ผู้ยื่นคำร้องจะทำได้โดยการแสดงหลักฐานความผูกพันทางครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคมอื่นๆ ที่มีอยู่ภายนอกประเทศสหรัฐฯ
  • หลักทรัพย์ ผู้ยื่นคำร้องจะต้องแสดงหลักฐานทางการเงินที่ครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าใช้จ่ายส่วนตัวตลอดระยะเวลาการศึกษาของท่าน

ท่านสามารถตรวจสอบเอกสาร และแบบฟอร์มต่างๆได้จาก Checklist ของทางสถานฑูตฯได้ที่
bangkok.usembassy.gov/root/pdfs/nivchecklist.pdf
ขั้นตอนในการจองวันสัมภาษณ์วีซ่า
  • ซื้อรหัสประจำตัว (PIN) ได้ทางเว็บไซต์หรือผ่าน Call Center ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีที่ผู้ขอวีซ่าต้องการจองวันสัมภาษณ์ว่าต้องการจอง ผ่านทางเว็บไซต์ หรือทาง Call Center
  • จองวันสัมภาษณ์วีซ่าผ่านทางเว็บไซต์ผู้ขอวีซ่าสามารถซื้อรหัสประจำตัว (PIN) ได้จากที่ทำการไปรษณีย์ โดยชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงินสด จำนวน 408 บาท โดยรหัสประจำตัว (PIN) จะมีอายุ 90 วัน และสามารถใช้ในการจองวันสัมภาษณ์ได้หลัง 13.00 น. ของวันทำการถัดไปได้ที่เว็บไซต์ thailand.us-visaservices.com นอกจากนี้ผู้ขอวีซ่าสามารถซื้อรหัสประจำตัว (PIN) ผ่านทางเว็บไซต์โดยใช้เครดิตการ์ดได้อีกด้วย
  • จองวันสัมภาษณ์วีซ่าผ่านทาง Call Center ผู้ขอวีซ่าสามารถซื้อรหัสประจำตัว (PIN) ได้จากที่ทำการไปรษณีย์ โดยชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงินสด จำนวน 680 บาท และสามารถใช้ในการโทรจองวันสัมภาษณ์ได้หลัง 13.00 น. ของวันทำการถัดไปที่หมายเลขโทรศัพท์ 001-800-13-202-2457 นอกจากนี้ผู้ขอวีซ่าสามารถซื้อรหัสประจำตัว (PIN) ผ่านทาง Call Center โดยใช้เครดิตการ์ดได้อีกด้วย

ประกาศสำคัญถึงผู้สมัครวีซ่านักเรียนจากสถานฑูตฯ

โปรดทราบว่าในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม เป็นเดือนที่ฝ่ายวีซ่ามีงานมากที่สุด ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นช่วงที่นัดสัมภาษณ์ได้ยากที่สุด ผู้สมัครวีซ่านักเรียนควรวางแผนล่วงหน้าเพื่อจะได้ไม่จำเป็นต้องเดินทาง มาสถานทูตฯ หลายครั้ง เราขอแนะนำให้ผู้สมัครวีซ่านักเรียนสมัครวีซ่าล่วงหน้า แต่ต้องไม่เกินกว่า 120 วัน ก่อนวันเริ่มหลักสูตร

 

กินอยู่กันอย่างไร (Accommodation and lifestyle)

ก่อนที่จะเริ่มต้นชีวิตการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา การหาที่พักเป็นการตัดสินใจที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดอย่างหนึ่ง และมีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาทั้งในเรื่องส่วนตัว และทางวิชาการ ที่พักเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยในการเอื้ออำนวยต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ถ้านักศึกษามีที่พักที่ดีและมีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาการต่างๆ จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้านักศึกษามีความไม่สบายใจเกี่ยวกับที่พัก โอกาสในการเรียนรู้รวมถึงกำลังใจในการต่อสู้ก็จะลดน้อยลงตามลำดับ คนทุกคนย่อมมีความสุขและมีความสามารถมากที่สุด ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ทำให้รู้สึกสะดวกสบาย

สำหรับนักศึกษาที่มีญาติหรือคนรู้จักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจเลือกเข้าศึกษาต่อในบริเวณใกล้เคียงกับที่พักของญาติ เพื่อถือโอกาสพักร่วมกับเขา แต่สำหรับนักศึกษาที่ไม่รู้จักใครเลย ส่วนใหญ่จะใช้บริการของสถาบันการศึกษาในการจัดหาที่พักให้ โดยทั่วไปสถาบันการศึกษาสามารถให้ความช่วยเหลือได้ในการหาที่พัก บางแห่งยังมีบริการไปรับที่สนามบินเพื่อพานักศึกษาไปส่งยังที่พักด้วย


ที่พักชั่วคราว

หากนักศึกษาเดินทางมาถึงวิทยาเขตก่อนวันที่จะสามารถย้ายเข้าไปยังที่พักถาวรได้ หรือต้องใช้เวลาในการหาที่พักถาวร นักศึกษามีทางเลือกมากมายเกี่ยวกับที่พักชั่วคราว ที่ราคาสูงที่สุดคือโรงแรม แต่ก็มีโรงแรมในราคาประหยัดให้เลือกด้วย รวมถึง YMCA หรือ YWCA ในเขตท้องถิ่นนั้นๆ นักศึกษาควรสอบถามข้อมูลล่วงหน้าจากเจ้าหน้าที่ของสถาบันเกี่ยวกับทางเลือกของที่พักชั่วคราว


หอพักของสถาบัน

เป็นรูปแบบของที่พัก ที่นักศึกษาต่างชาตินิยมมากที่สุด สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งไปถึง อย่างไรก็ดี ไม่ใช้ว่าทุกสถาบันจะมีหอพักไว้เพื่อให้บริการนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ Community College มักจะไม่มีหอพักให้กับนักศึกษา รวมถึงสถาบันการศึกษาที่อยู่ในเขตใจกลางเมืองหลายแห่ง ก็ไม่มีหอพักสำหรับนักศึกษา แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีบริการด้านที่พักสำหรับนักศึกษา หรือหอพักนั่นเอง โดยทั่วไปจะเป็นห้องพักสำหรับนักศึกษาโสด และอยู่ภายในหรือใกล้เคียงกับวิทยาเขต หอพักเป็นสถานที่ที่นักศึกษาต่างชาติ จะได้มีโอกาสในการพบปะและสังสรรค์กับนักศึกษาชางอเมริกันเป็นอย่างดี หอพักส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์เครื่องใช้ขั้นพื้นฐานทั่วไปครบ รวมถึงโต๊ะ ตู้เสื้อผ้า และเตียง หอพักส่วนใหญ่จะมีโรงอาหาร และบางแห่งอาจมีห้องครัวเล็กสำหรับนักศึกษาด้วย พร้อมมีห้องนั่งเล่นรวม โทรทัศน์ ห้องเล่นเกมส์ ห้องซัก/รีดผ้า หอพักส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่มีห้องน้ำส่วนตัว แต่จะเป็นห้องน้ำรวมซึ่งแยกหญิง-ชายมากกว่า นอกจากนี้ มักมีผู้คุมหอพักซึ่งพักอาศัยอยู่ในหอพักด้วย เพื่อดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั่วไป

ห้องพักในหอพักของสถาบันอาจมีไม่มากนัก ดังนั้นนักศึกษาควรทำเรื่องขอจองที่พักเสียแต่เนิ่นๆ ซึ่งอาจต้องเสียค่ามัดจำที่พักในบางส่วนด้วย นอกจากนี้ หอพักบางแห่งอาจปิดให้บริการในช่วงปิดภาคการศึกษา หรือวันหยุดระหว่างภาค แต่บางแห่งก็เปิดให้บริการตลอดปี ดังนั้นนักศึกษาควรตรวจสอบเจ้าหน้าที่ด้านที่พักของสถาบันเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย

การพักอาศัยอยู่ในหอพัก มักมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับส่วนกลางซึ่งนักศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุขและราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับระดับเสียง ความสะอาด ผู้เยี่ยม ฯลฯ หอพักแต่ละแห่งย่อมมีข้อกำหนดที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นนักศึกษาจึงควรศึกษาข้อมูลทางด้านนี้ให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อลดปัญหาความไม่สะดวกสบาย หรือความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลัง

ข้อคิดของนักศึกษาที่ต้องการพักหอพักคือ นักศึกษาต้องเตรียมปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นด้วย เพราะเป็นการอยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก เรื่องของเพื่อนร่วมห้องก็เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ ห้องพักส่วนใหญ่ในหอพักของสถาบันการศึกษาจะเป็นห้องพักรวม 2-3 คน ซึ่งนักศึกษาอาจจะไม่รู้จักกันมาก่อน โดยทั่วไป สถาบันมักจัดให้นักศึกษาต่างชาติพักร่วมกับนักศึกษาชาวอเมริกัน ซึ่งต้องยอมรับว่าต่างคนต่างมีความคิดเห็นและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น นักศึกษาต้องเคารพในสิทธิของผู้อื่น และเพื่อนร่วมห้องของเราก็ต้องเคารพในสิทธิอันชอบควรของเราด้วย ในกรณีที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านใดก็ตาม นักศึกษาต้องบอกเจ้าหน้าที่สำนักงานนักศึกษาต่างชาติหรือผู้ดูแลหอพักทันที

หอพักจะมีหลายประเภท รวมถึง หอพักรวมชาย-หญิง ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ร่วมอาคารเดียวกันแต่แยกชั้น หอพักชายล้วน หอพักหญิงล้วน อพาร์ทเมนท์ บ้านเช่าของสถาบัน และอพาร์ทเมนท์สำหรับนักศึกษาที่มีครอบครัว เป็นต้น


ที่พักนอกวิทยาเขต

เป็นที่พักที่อยู่นอกบริเวณวิทยาเขตของสถาบัน มีทั้งในรูปแบบของบ้านและอพาร์ทเมนท์ ที่ตกแต่งแล้ว ตกแต่งบางส่วน หรือยังไม่ได้ตกแต่ง สำหรับการหาที่พักนอกวิทยาเขต นักศึกษาอาจติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านที่พักของสถาบัน หาจากหนังสือพิมพ์ หรือติดตามดูประกาศตามบอร์ดกับการหาที่พักร่วมของสถาบัน

หากนักศึกษาไม่มีรถยนต์ สถานที่ตั้งของที่พักจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าไม่อยู่ในระยะทางที่สามารถเดินไปสถาบันได้ หรือไม่ได้อยู่ในเส้นทางของการคมนาคมสาธารณะ ที่พักนั้นๆ อาจจะไม่เหมาะสม นอกจากนี้ค่าเช่าโดยทั่วไปจะไม่ได้รวมถึงค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส ค่าโทรศัพท์ (รวมโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง US $75 – US $200 หรือมากกว่า ต่อเดือน) ส่วนค่าน้ำและค่าบริการจัดเก็บขยะ มักรวมอยู่ในค่าเช่าแล้ว

สำหรับการเช่าที่พักในรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาจะต้องเซ็นสัญญาเช่า ซึ่งเป็นเอกสารที่มีผลทางกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่พัก ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังนั้นนักศึกษาควรถามตัวเองก่อนว่าจะสามารถเช่าที่พักนั้นๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่าหรือไม่ โดยทั่วไปนักศึกษาอาจต้องจ่ายค่าเช่าเดือนแรก และเดือนสุดท้ายล่วงหน้า ซึ่งเป็นการรับประกันว่าผู้เช่าจะแจ้งการย้ายออกอย่างน้อย 30 วันล่วงหน้า นอกจากนี้ อาจต้องจ่ายค่ามัดจำความเสียหายอีก 1 เดือน ซึ่งผู้เช่าจะได้รับคืนเมื่อย้ายออก และไม่ได้ทำความเสียหายอะไรให้กับสถานที่ที่เช่า

นักศึกษาควรตกลงทำสัญญาเกี่ยวกับการเช่าที่พักด้วยเอกสาร ซึ่งกำหนดเงื่อนไขและข้อตกลงเอาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนเท่านั้น นักศึกษาต้องมั่นใจว่าได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญานั้นๆ แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนการเซ็นสัญญา


หอพักนอกวิทยาเขต

หมายถึง หอพักของเอกชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับวิทยาเขตของสถาบัน รายละเอียดทุกอย่างจะใกล้เคียงกับหอพักของสถาบันการศึกษา เพียงแต่มีเอกชนเป็นเจ้าของ โดยทั่วไปอัตราค่าเช่าจะใกล้เคียงกับหอพักของสถาบันภายในวิทยาเขต ที่พักแบบ Co-Ops หรือ Cooperative Residence Halls

โดยทั่วไปจะหมายถึงบ้านขนาดใหญ่ ที่นักศึกษากลุ่มหนึ่งพักอาศัยร่วมกัน และร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและงานในบ้าน รวมถึงการทำอาหาร งานทำความสะอาดบ้าน และงานอื่นๆ นอกบ้าน และเนื่องจากราคาของที่พักประเภทนี้จะค่อยข้างถูก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายในการที่จะหาที่พักแบบนี้ได้


บ้านให้เช่าห้องพัก

หมายถึงที่พักอาศัยที่ปล่อยห้องให้บุคคลอื่นเช่า และส่วนใหญ่ จะเป็นการแบ่งให้ผู้เช่า 2 คน มักมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำอาหารพร้อม ที่พักประเภทนี้ น่าจะเป็นที่พักที่มีค่าเช่าถูกที่สุด แต่บางครั้ง อาจเกิดปัญหาเกี่ยวการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อาทิ เรื่องของการใช้ห้องน้ำหรือห้องครัวร่วมกัน หากต้องการที่พักประเภทนี้ ควรเลือกผู้ร่วมเช่าให้ดี และซักถามคำถามให้มากที่สุด


การพักร่วมกับครอบครัวชาวอเมริกัน

เจ้าหน้าที่นักศึกษาต่างชาติ มักมีรายชื่อของครอบครัวในชุมชนแถบนั้น ที่ต้องการให้มีนักศึกษาต่างชาติมาพักอาศัยในครอบครัวด้วย โดยทั่วไปมักเป็นห้องเดี่ยวส่วนตัวพร้อมอาหารเช้าและอาหารเย็นสำหรับวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และอาหาร 3 มื้อ สำหรับวันเสาร์และวันอาทิตย์ บางครั้งครอบครัวนั้นๆ อาจคาดหวังให้นักศึกษาทำงานบางอย่าง อาทิ การดูแลเด็กเล็ก หรือการช่วยทำงานบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการลดราคาค่าเช่าบ้าน การพักร่วมกับครอบครัวชาวอเมริกัน อาจเป็นประสบการณ์ที่อบอุ่นและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ควรพิจารณาครอบครัวนั้นๆ และเงื่อนไขต่างๆอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาเข้าใจดี รวมถึงรับรู้ในสิ่งที่เขาคาดหวังจากตัวนักศึกษาด้วย

ข้อดี นักศึกษาส่วนใหญ่ จะพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วค่าใช้จ่ายส่วนมากจะถูกกว่า ครอบครัวที่สถาบันจัดหาให้หลายแห่ง สามารถไปรับ - ส่งที่สถาบันได้ สามารถใช้บริการได้ตลอดปีและนักศึกษาจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของครอบครัวชาวอเมริกันอย่างแท้จริง

ข้อเสีย อาจต้องใช้เวลาในการเดินทางไป - กลับ นักศึกษามีอิสรภาพน้อยกว่าการพักหอพักเนื่องจากต้องปฏิบัติตามกฎของแต่ละครอบครัว และมีทางเลือกด้านอาหารน้อยกว่า นอกจากนี้ การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของทางวิทยาเขตอาจจะจำกัด เนื่องจากนักศึกษาอาจต้องรีบเดินทางกลับบ้านเมื่อเลิกเรียน ข้อคิดเราต้องเตรียมตัวและเตรียมใจในการเข้าพักร่วมในบ้านของผู้อื่น ซึ่งมีพื้นฐานด้านการศึกษา วัฒนธรรม และแนวคิดที่แตกต่างจากบ้านเรา การปรับตัวทั้งในเรื่องของอาหารกินและวิถีการดำรงชีวิต เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด สำหรับนักศึกษาที่ต้องการที่พักประเภทนี้ ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ campus.sanook.com