ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสหราชอาณาจักร (Let's get ready)
สหราชอาณาจักร (United Kingdom) หรือที่รู้จักกันดีในนามของประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปยุโรป พื้นที่ของประเทศประกอบไปด้วยพื้นที่เกาะ 2 คือ (Great Britain) เกาะใหญ่ของอังกฤษ ที่ได้รวบรวมอาณาเขตของอังกฤษ (England) มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษเป็นประมุข นายกรัฐมนตรี เป็นฝ่ายบริหารประเทศ
ประชากร Population
สหราชอาณาจักรมีประชากรประมาณ 63.8 ล้านคน โดยอาศัยอยู่กระจายตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศดังนี้ ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ประเทศสก็อตแลนด์ มีเมืองหลวงที่ชื่อว่า Edinburgh ซึ้งมีพื้นใหญ่รองลงมาจาก London ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ว่างเปล่า และยังคงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสถานที่ท่องเที่ยว อาทิเช่น ทะเลสาบ และแหล่งน้ำธรรมชาติ ประเทศสก็อตแลนด์มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 5.1 ล้านคน ประเทศเวลส์ มีเมืองหลวงที่ชื่อว่า Cardiff ที่มีประชากรมากที่สุดถึง 2.9 ล้านคน ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชายฝั่งทะเล ทะเลสาบ และภูเขาสูง ซึ่งเศรษฐกิจหลักของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรม Electronics ชิ้นส่วนรถยนต์การเงิน และการดูแลสุขภาพ แคว้นไอร์แลนด์เหนือ มีเมืองหลวงคือ Belfast ลักษณะเป็นแคว้นเล็กๆ และมีประชากรประมาณ 1.6 ล้านคน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชนบท มีอัตราค่าครองชีพต่ำสุด ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษา Irish Grali
สภาพภูมิอากาศ (Climate)
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของประเทศอังกฤษจัดอยู่ในประเทศเป็นเกาะ จึงมีอากาศเปลี่ยนแปลงมาก สาเหตุเนื่องจากกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นไหลผ่าน ทำให้เกิดหมอก หนาแน่นปกคลุมในบางครั้ง โดยส่วนใหญ่แล้วสภาพภูมิอากาศทางตอนเหนือจะหนาวมากกว่าทางตอนใต้ และทางภาคตะวันตกจะมีฝนชุ่มกว่าทางภาคตะวันออก เดือนที่ฝนตกน้อยคือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 4 องศาเซลเซียส และสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 18 องศาเซลเซียส
ฤดูใบไม้ผลิ
อากาศดี ดอกไม้บานสวยงาม
ฤดูร้อน
อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัดและอาจมีไฟป่า
ฤดูใบไม้ร่วง
อากาศเริ่มเย็นลง ตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้และเมือง ในเขตป่า ฝนจะตกชุก บางแห่งอาจมีน้ำท่วม
ฤดูหนาว
อากาศเย็นจัดมีหิมะตกบนเขตภูเขาสูงโดยทั่วไป
สกุลเงิน ธนาคาร
สกุลเงินของอังกฤษคือ เงินปอนด์ หรือ £ เรียก ปอนด์สเตอร์ลิง (สหราชอาณาจักร) 100 เพนนี เป็น 1 ปอนด์ ธนบัตรประกอบด้วย 5, 10, 20 และ 50 ปอนด์ เหรียญประกอบด้วย 1, 2, 5, 10, 20, 50 เพนนี และ 1, 2 ปอนด์
ค่าครองชีพ
Average Cost of Accommodation in London | |||
---|---|---|---|
Flat-Share Rental per month | One Bedroom Flat Rental per month | ||
East London | £290 - £390 (single), £430 - £600 (double) |
East London | £650 - £750 |
West London | £280 - £430 (single), £459 - £690 (double) |
West London | £700 - £800 |
South London | £280 - £500 (single), £350 - £650 (double) |
South London | £600 - £700 |
North London | £300 -£400 (single), £430 - £550 (double) |
North London | £650 - £750 |
น้องๆหลายคนคงอาจจะกลัว การขอวีซ่านักเรียนอังกฤษ แต่จริงๆแล้วการขอวีซ่าของประเทศอังกฤษนั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่ผู้ยื่นจะต้องเตรียมข้อมูลทุกอย่างที่ทางสถานทูตขอให้ครบถ้วน เช่น ประวัติการศึกษาขอผู้เรียน , ข้อมูลทางการเงินที่นักเรียนจะนำไปใช้ในการศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ
ประเภทของวีซ่านักเรียนอังกฤษแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
Student Visitor Visa
วีซ่าท่องเที่ยวแบบนักเรียน (ไม่เกิน 6 เดือน)
เป็นวีซ่าสำหรับน้องๆนักเรียนที่จะลงเรียนในหลักสูตรเต็มเวลา ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และวีซ่าประเภทนี้ไม่สามารถขอต่อวีซ่าหรือเปลี่ยนวีซ่าเป็นแบบ Tier 4 visa student ที่ประเทศอังกฤษได้และไม่สามารถทำงานระหว่างที่เรียนได้
Extended Student Visitor Visa
วีซ่าสำหรับนักเรียนที่มีความประสงค์เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ 6 - 11 เดือน
เป็นวีซ่าสำหรับน้องๆนักเรียนที่จะลงเรียนในหลักสูตรเต็มเวลา ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6-11 เดือน และวีซ่าประเภทนี้ไม่สามารถขอต่อวีซ่าหรือเปลี่ยนวีซ่าเป็นแบบ Tier 4 visa student ที่ประเทศอังกฤษได้ และไม่สามารถทำงานระหว่างที่เรียนได้
Tier 4 Student Visa
วีซ่านักเรียนด้วยระบบการให้คะแนน
เป็นวีซ่านักเรียนที่ใช้ระบบการให้คะแนนเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาวีซ่า หรือ Points Based System (PBS) ซึ่งนักเรียนจะต้องทำคะแนนให้ได้ 40 คะแนนเต็ม วีซ่าจึงจะได้รับการอนุมัติ
หลักสูตรที่สามารถยื่นขอวีซ่าชนิดนี้นั้น จะต้องเป็นหลักสูตรการเรียนแบบเต็มเวลา ในสถาบันที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของ UK Border Agency หรือ UKBA
Tier 4 Student Visa แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
Tier 4 (Child) Form VAF 9
วีซ่าชนิดนี้สำหรับผู้สมัครที่มีอายุระหว่าง 4-17 ปีเท่านั้น ถ้าผู้สมัครมีอายุระหว่าง 4-15 ปี ผู้สมัครจะต้องเรียนในโรงเรียนเอกชน(secondary or high school)เท่านั้น และต้องเรียนเต็มเวลาเท่านั้นอีกด้วย
Tier 4 (General)
วีซ่าชนิดนี้สำหรับผู้สมัครที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป และจะต้องเรียนเต็มเวลาเท่านั้น เช่น A-levels , AGCE , College, University
ระบบคะแนนของ Tier 4 Student Visa ( 40 คะแนน )
30 คะแนน
มาจาก เอกสารตอบรับให้เข้าศึกษา CAS Number (Confirmation of Acceptance for Studies )ที่ออกโดยสถาบันซึ่งได้รับการรับรองจาก UK Border Agency ซึ่งในเอกสารนั้น จะต้องมีรายละเอียดของนักเรียน รายชื่อหลักสูตร และจำนวนเงินที่ชำระให้กับทางสถาบัน
10 คะแนน
มาจากหลักฐานทางการเงิน ซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่จะเกิดขึ้น เช่น ค่าเล่าเรียน ค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายสำหรับที่พักอาศัย ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ ซึ่งเอกสารนี้ ( Bank Statement )จะต้องออกมาจากธนาคารที่เชื่อถือได้ และมีอายุไม่เกิน 1 เดือน และในกรณีที่ผู้ปกครองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้แก่นักเรียน ผู้ปกครองจะต้องเขียนจดหมายรับรองว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าเล่าเรียน ค่ากินอยู่ และค่าที่พัก ตลอดระยะเวลาที่นักเรียนศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
โดยที่ค่าใช้จ่ายในระยะเวลาปีแรกจะตกอยู่ที่ประมาณ เดือนหละ 800 ปอนด์ หรือ 7,200 ปอนด์ต่อระยะเวลา 9 เดือน สำหรับผู้ที่พักอาศัยใน London และ เดือนหละ 1,000 ปอนด์ หรือ 9,000 ปอนด์ สำหรับผู้ที่พักอาศัยอยู่นอก London
ตารางเปลี่ยนเทียบทักษะภาษาอังกฤษ (CEFR LEVEL)
CEFR Level | IELTS | TOEFL iBT | TOEIC |
---|---|---|---|
A1 | - | - | Listening 60, Speaking 50 |
A2 | - | - | Reading 115, Listening 110, Speaking 90, Writing 70 |
B1 | 4.0 (for all skills) | 57-86 | Reading 275, Listening 275, Speaking 120, Writing 120 |
B2 | 5.0-6.5 (for all skills) | 87-109 | Reading 385, Listening 400, Speaking 160, Writing 150 |
C1 | 7.0-7.5 (for all skills) | - | - |
C2 | 9 (for all skills) | - | - |
เงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับ Tier 4 Student Visa
- นักเรียนที่มาเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษจะต้องมีระดับภาษาอังกฤษ ในระดับ B1 เป็นอย่างต่ำ หรือต้องมี IELTS 6.5 ขึ้นไปสำหรับการเรียนในระดับปริญญาตรี
- นักเรียนที่มาเรียนในระดับปริญญาตรี( NQF 6/QCF6/SCQF9 ) จะสามารถทำงานได้ 20 ชั่วโมง / สัปดาห์ ในระหว่างภาคเรียน และสามารถทำงาน Full time ได้ในระหว่างปิดภาคเรียน
- นักเรียนที่มาเรียนในหลักสูตรประกาศนีย์บัตร (Foundation), A-level (NQF3-5 /QCF3-5/SCQF6-8) สามารถทำงานได้ 10 ชั่วโมง / สัปดาห์ ในระหว่างภาคเรียน และสามารถทำงาน Full time ได้ในระปว่าปิดภาคเรียน
- นักเรียนที่มาเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษไม่สามารถที่จะทำงานได้
การขอตรวจสุขภาพ
การขอตรวจสุขภาพเพื่อยื่นวีซ่า IOM
องค์กรนานชาติเพื่อการย้ายถิ่นฐาน International Organisation for Migration (IOM)
ที่อยู่: อาคารเกษมกิจ ชั้น 8
120 ถนน สีลม บางรัก กรุงเทพฯ
โทร: 02 234 7950 - 5
เปิดบริการ: วันจันทร์ - ศุกร์ 8:00 - 17:00
เอกสารที่ต้องนำมาสำหรับการตรวจสุขภาพ
- Passport
- บัตรประชาชน
- รูปถ่าย 2 นิ้ว หลังขาว
สามารถไปตรวจได้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ซึ่งอยู่ใกล้กับตึกเกษมกิจ หรือโรงพยาบาลพญาไท 2 ค่าตรวจสุขภาพจะอยุ่ที่ประมาณ 3,300 บาท
เอกสารสำหรับยื่นวีซ่านักเรียนแบบ Student Visitor Visa หรือ Extended Student Visa
- Form ขอวีซ่า Online (https://www.visa4uk.fco.gov.uk/)
- รูปถ่าย 2 นิ้ว (35*45 มิลลิเมตร) พื้นหลังขาว
- Passport
- สำเนาถ่ายเอกสารหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่าย วันที่ออก/วันที่หมดอายุ
- ค่าธรรมเนียมวีซ่า
- หนังสือรับรองการเป็นพนักงาน เป็นภาษาอังกฤษ ระบุวันที่เข้าทำงาน ตำแหน่ง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สมุดบัญชีธนาคารตัวจริงพร้อมสำเนาย้อนหลัง 6 เดือน
- หลักฐานที่พัก
- Visa Letter จากทางสถานบันที่เราลงเรียนไว้
- Medical Certificate (IOM) ในกรณีที่เรียนมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
เอกสารสำหรับยืนวีซ่านักเรียนแบบ Tier 4 Student Visa
- CAS letter
- Transcript ตัวจริง + สำเนา 1 ใบ
- Degree Certificate ตัวจริง + สำเนา 1 ใบ
- สำเนาบัตรประชาชน สำเนา 1 ใบ
- ทะเบียนบ้าน
- Passport เล่มปัจจุบัน ตัวจริง + สำเนาหน้าแรก 2 ใบ และหน้าที่มีประทับการเดินทางเข้าออกประเทศ
- Passport เล่มเก่า (ถ้ามี) ตัวจริง + สำเนาหน้าแรก 1 ใบ
- Book bank ตัวจริง + สำเนาทุกหน้า
- Bank statement ย้อนหลัง 6 เดือน ตัวจริง + สำเนา 1 ใบ
- หลักฐานรับรองฐานะทางการเงิน( Bank Guarantee) 28 วัน ตัวจริง + สำเนา 1 ใบ
- English certificate - IELTS ตัวจริง + สำเนา 1 ใบ
- หลักฐานการทำงาน (ถ้ามี) ตัวจริง + สำเนา 1 ใบ
- ผลตรวจ IOM ตัวจริง + สำเนา 1 ใบ
- แคชเชียร์เช็คค่าวีซ่า
- หลักฐานที่พัก , ใบเสร็จค่าที่พัก (ถ้ามี)
- เอกสารและใบเสร็จที่ใช้ในการสมัครเรียน
ในกรณีที่ผู้ปกครองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการทำงาน, หนังสือจดทะเบียนร้านค้า หรือ บริษัท
- หลักฐานทางการเงิน Book Bank เล่มจริง Bank statement , Bank Guarantee
- สำเนาใบเกิดของผู้เรียน
ขั้นตอนการยื่นขอวีซ่านักเรียนอังกฤษ
- กรอก Form online พร้อม print พร้อมติดรูป www.visa4uk.fco.gov.uk/ApplyNow.aspx
- กรอก Form Appendix 8
- จองวันขอวีซ่าที่ www.vfs.firm.in/th-apptsystem/appscheduling/appwelcome.aspx เลือกวันพร้อม print out ออกมา
- วันที่นัดสัมภาษณ์ ให้ไปที่
ศูนย์รับคำร้องวีซ่าอังกฤษ
- UK Visa Application Center The Trendy Office Building, ชั้น 28 ซอยสุขุมวิท 13, แขวงคลองเคยเหนือ เขตวัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 (ควรไปก่อนสัก 20 นาที)
- ยื่นเอกสารที่เตรียมไป พร้อมทั้งจะมี Check list ให้เราตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบครบถ้วนก็เซ็นชื่อกำกับ
- เข้าห้องถ่ายรูปและสแกนลายนิ้วมือ
- สัมภาษณ์ จะมีคำถามประมาณ 4 ข้อ
กินอยู่กันอย่างไร (Accommodation and lifestyle)
เพื่อป้องกันความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้น คุณควรพยายามหาที่พักในสหราชอาณาจักรให้ได้ก่อนที่จะเดินทางออกจากประเทศ แม้คุณจะต้องรับผิดชอบเรื่องการจัดหาที่พักสำหรับตัวคุณเอง แต่โรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยสามารถช่วยคุณในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีที่ปรึกษาสำหรับนักเรียน หรือเจ้าหน้าที่ด้านการจัดหาที่พักซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหาที่พักให้แก่คุณได้
หากคุณกำลังเรียนภาษาอังกฤษ สถาบันสอนภาษาอังกฤษเกือบทุกแห่งสามารถช่วยจัดหาที่พักที่เหมาะสมให้แก่คุณได้ ประเภทของที่พักที่จัดให้จะขึ้นอยู่กับว่าคุณเรียนที่ไหน กล่าวคือที่พักอาจจะเป็นหอพักนักเรียน (hall of residence) หรือโฮสเทล (hostel) หรือห้องเช่าในบ้านพักของครอบครัวชาวอังกฤษ (lodging) การพักกับครอบครัวชาวอังกฤษเป็นทางเลือกที่เป็นที่นิยมที่สุดและจะเป็นโอกาสให้คุณได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสำหรับการเรียนรู้
ที่พักของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย
นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่ที่มาเรียนในสหราชอาณาจักรจะได้รับการรับประกันว่าจะได้พักในที่พักของมหาวิทยาลัยเป็นเวลาหนึ่งปีเป็นอย่างน้อย มีนักศึกษาต่างชาติที่มาศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ได้พักในที่พักของมหาวิทยาลัย หากคุณเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มาสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก ที่พักของมหาวิทยาลัยน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
หอพักนักศึกษา
ที่พักแบบที่เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับนักศึกษาก็คือหอพักนักศึกษาซึ่งเป็นของมหาวิทยาลัยเองและอยู่ในอาณาเขตของมหาวิทยาลัยหรือบริเวณใกล้มหาวิทยาลัย คุณจะได้พักในห้องนอนสำหรับอ่านหนังสือ โดยอาจจะพักคนเดียวหรือพักกับเพื่อนนักศึกษาอีกหนึ่งคน ห้องพักจะมีระเบียงส่วนกลางและมีห้องนอนแยกไปประมาณ 8-10 ห้อง คุณอาจจะต้องใช้ห้องน้ำร่วมกับนักศึกษาคนอื่น แม้ว่าสถาบันการศึกษาจำนวนมากจะมีห้องแบบมีห้องน้ำในตัวให้สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทและนักศึกษาที่อายุเกิน 25 ปี หอพักนักศึกษามักจะเป็นที่พักแบบที่ราคาถูกที่สุด
หอพักบางแห่งมีอาหารให้วันละ 2 มื้อ ขณะที่บางแห่งมีห้องครัวให้นักศึกษาใช้ร่วมกัน ซึ่งนักศึกษาก็จะได้ทำอาหารรับประทานเอง หอพักแบบให้ทำอาหารเองมักจะคิดค่าเช่าราคาถูกกว่า แต่คุณก็อาจจะยอมจ่ายค่าเช่าเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีคนทำอาหารให้รับประทานมากกว่า นอกจากนี้ช่วงเวลารับประทานอาหารยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เจอนักศึกษาคนอื่นๆ อีกด้วย
หอพักส่วนใหญ่จะอำนวยความสะดวกเรื่องการซักรีด เช่น มีพนักงานทำความสะอาดคอยเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและเทขยะให้ โดยส่วนใหญ่แล้วค่าเช่าหอพักมักจะรวมค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อยู่ด้วยแล้ว นักศึกษาอาจจะจองห้องว่างล่วงหน้าสำหรับให้พ่อแม่หรือเพื่อนที่มาเยี่ยมเข้าพักได้
สังคมในหอพักนักศึกษา
การพักในหอพักนักศึกษาเป็นโอกาสอันดีที่จะได้พบปะเพื่อนใหม่ๆ และสร้างมิตรภาพที่ยืนยาว หอพักแต่ละแห่งมักจะมีการเลือกตั้งตัวแทนเพื่อเป็นปากเป็นเสียงของนักศึกษาในเรื่องกิจการของหอพักและจัดกิจกรรมทางสังคมที่สนุกสนาน หอพักนักศึกษาหลายแห่งมีบาร์ คาเฟ่ บริเวณสำหรับดูโทรทัศน์ ห้องซ้อมดนตรี และอุปกรณ์การกีฬาเป็นของตัวเอง
หอพักนักศึกษามีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนเนื่องจากหอพักเหล่านี้ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยเอง จึงมักจะมีเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยคอยให้คำปรึกษาและมีคนคอยช่วยนักศึกษาในเรื่องการปรับตัวเมื่อนักศึกษามาถึงใหม่ๆ เช่น เจ้าหน้าที่และนักศึกษารุ่นพี่ โดยมักจะมียามรักษาความปลอดภัยวันละ 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี นักศึกษาบางคนอาจรู้สึกว่ากฎระเบียบของหอพักค่อนข้างเข้มงวด
ช่วงปิดภาคเรียน
หอพักบางแห่งก็ไม่ได้มีที่พักให้นักเรียนตลอดทั้งปี คุณอาจจะต้องเก็บข้าวของในห้องในช่วงปิดภาคเรียนหากหอพักนำห้องไปให้เช่าสำหรับการประชุมหรือโรงเรียนภาคฤดูร้อน ดังนั้นจึงควรตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานกับนักเรียนต่างชาติว่าหอพักของคุณมีนโยบายเช่นนี้ด้วยหรือไม่
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะให้ข้อยกเว้นเป็นพิเศษสำหรับนักศึกษาต่างชาติ และยอมให้คุณพักอยู่ที่หอในช่วงปิดภาคเรียนหรืออย่างน้อยที่สุดก็ยอมให้เก็บของใช้ของคุณไว้ในที่ที่จัดไว้หากคุณเดินทางกลับประเทศ นักศึกษาต่างชาติมักจะได้รับการประกันว่าจะมีสิทธิเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี จึงเป็นการดีที่สุดถ้าคุณจะรีบตอบรับเรื่องที่พักให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากหอพักเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่มีห้องพักมากเพียงพอสำหรับนักศึกษาทุกคน ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องทราบให้เร็วที่สุดว่าห้องพักจะว่างเมื่อไร
บ้านของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย
สถาบันการศึกษาบางแห่งซื้อบ้านหรือแฟลตที่ดัดแปลงสำหรับให้นักศึกษากลุ่มเล็กๆ นักศึกษาที่แต่งงานแล้ว หรือมาเป็นครอบครัวเข้าพักอาศัย และยังมีบางกรณีที่เจ้าของบ้านอนุญาตให้มหาวิทยาลัยเข้าไปจัดการให้นักศึกษาเช่าที่พักของตน
ค่าเช่าบ้านพักประเภทนี้อาจรวมค่าอาหารเช้าและค่าอาหารเย็นด้วยแล้ว ซึ่งในกรณีนี้คุณอาจจะต้องจ่ายค่าเช่าประมาณเดือนละ 300 ถึง 380 ปอนด์ ส่วนห้องน้ำอาจจะต้องใช้ร่วมกันหลายคน แต่อย่างไรก็ดีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยหลายแห่งก็มีห้องแบบที่มีห้องน้ำในตัว ซึ่งคุณจะมีห้องน้ำเป็นของตัวเอง โดยจ่ายค่าเช่าแพงขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย สำหรับนักศึกษาที่พาครอบครัวมาด้วย มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็มีห้องพักแบบสองหรือสามห้องนอนสำหรับครอบครัว โดยค่าเช่าจะอยู่ระหว่าง 450 ถึง 550 ปอนด์ต่อเดือน
บ้านและแฟลตที่เช่าอยู่รวมกันหลายคน
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมักจะรับประกันว่านักศึกษาที่เรียนหลักสูตรที่มีระยะเวลาสามปี จะได้รับสิทธิให้พักในที่พักของมหาวิทยาลัยในช่วงหนึ่งหรือสองปีแรก สำหรับปีที่สองหรือปีที่สาม นักศึกษามักจะเลือกที่พักแบบแฟลตหรือบ้านที่เช่าอยู่รวมกันหลายคน โดยนักเรียนจะหาแฟลตหรือบ้านเหล่านี้ได้จากโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โฆษณาที่ติดไว้ตามหน้าร้านขายของ และที่สำนักงานจัดหาที่พักของมหาวิทยาลัย ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการหาที่พักก็คือช่วงก่อนที่จะปิดเทอมหน้าร้อน ซึ่งก็คือช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม ถ้าหากคุณหาแฟลตหรือบ้านในช่วงนี้ของปี คุณอาจจะต้องจ่ายค่าเช่าสำหรับตลอดช่วงหน้าร้อนทั้งหมดด้วย
แต่อย่างไรก็ตามเจ้าของบ้านบางรายอาจจะลดค่าเช่าให้หากคุณไม่ได้อยู่บ้านตลอดช่วงหน้าร้อน การเช่าแฟลตหรือบ้านรวมกันหลายๆ คนจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากหากคุณชอบความอิสระและชอบทำอาหารเอง
ค่าเช่าห้องในแฟลตหรือบ้านที่เช่ารวมกับนักเรียนคนอื่นจะตกประมาณ 200 ถึง 500 ปอนด์ โดยค่าเช่ามักจะไม่รวมค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และค่าภาษีท้องถิ่น (council tax) ดังนั้นก่อนที่คุณจะเซ็นสัญญาเช่า คุณจึงควรตรวจสอบกับเจ้าของบ้านหรือเจ้าของแฟลตให้เรียบร้อยว่าค่าเช่าที่ตกลงกันไว้รวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ด้วยหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่เกิดค่าใช้จ่ายที่คุณไม่ได้คาดคิดหลังจากที่ย้ายเข้าไปพักแล้ว
เบดซิท
เป็นคำย่อสำหรับ ‘bedroom/sitting room’ (ห้องนอน/ห้องนั่งเล่น) ซึ่งเป็นอพาร์ทเมนท์แบบห้องเดียวในอาคารขนาดใหญ่ แต่ละห้องจะมีเตียงเดี่ยวหรือเตียงคู่ พร้อมกับมีพื้นที่สำหรับซักล้าง และเบดซิทก็มักจะมีเตาทำกับข้าวและห้องน้ำในตัวด้วย เบดซิทมีได้หลายขนาดตั้งแต่ขนาดกะทัดรัดไปจนถึงห้องขนาดเล็กมาก แม้ค่าเช่าเบดซิทจะไม่แพง แต่การพักในเบดซิทก็อาจจะทำให้นักเรียนรู้สึกเหงาได้ถ้าเบดซิทนั้นไม่ได้อยู่ในอาคารที่มีนักเรียนเช่าพักเป็นจำนวนมากๆ ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อนที่เช่าเบดซิทห้องข้างเคียงอาจจะส่งเสียงดังและทำให้คุณไม่มีสมาธิในการอ่านหนังสือ และถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้คุณก็จะต้องขอให้เจ้าของผู้ให้เช่าเบดซิทหรือสำนักงานขายที่พักช่วยจัดการปัญหาให้
อย่างไรก็ตามการเช่าเบดซิทอาจจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณจะมีอิสระได้ตามต้องการหากคุณรู้สึกว่าหอพักนักเรียนมีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกินไป ค่าเช่าเบดซิทจะตกประมาณ 200 ถึง 600 ปอนด์ต่อเดือน และมักจะไม่ได้รวมค่าสาธารณูปโภค
โฮมสเตย์
โฮมสเตย์เป็นทางเลือกที่เป็นที่นิยมมากสำหรับนักเรียนที่มาเรียนภาษาอังกฤษและนักเรียนที่มีอายุน้อยที่มาเรียนในระดับวิทยาลัย การพักแบบโฮมสเตย์ก็คือการเช่าห้องพักในบ้านของครอบครัวเจ้าของบ้าน โดยคุณจะมีห้องนอนสำหรับอ่านหนังสือเป็นของตัวเอง และรับประทานอาหารร่วมกับครอบครัวเจ้าของบ้าน รายละเอียดเรื่องการเช่าบ้านจะเป็นไปตามความจำเป็นและความต้องการของนักเรียนแม้ว่าการพักในที่พักแบบนี้จะถูกมองว่าเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง การได้สัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสหราชอาณาจักรเช่นนี้จะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะทางภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมประเพณีของครอบครัวชาวอังกฤษได้ดีที่สุด ครอบครัวเจ้าของบ้านจะคาดหวังให้คุณเคารพและทำตามกฎเกณฑ์พื้นฐานต่างๆ ที่ทางครอบครัวได้วางระเบียบไว้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคุณมาพักอยู่โดยจ่ายค่าเช่าด้วย คุณก็มีสิทธิที่จะเลือกช่วยทำงานต่างๆ หรือไม่ก็ได้ เช่น ช่วยเลี้ยงเด็กและช่วยทำงานบ้าน โดยคุณจะไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ว่าจะต้องช่วยทำงานเหล่านี้
การพักแบบโฮมสเตย์อาจเป็นทางเลือกที่ดีมากสำหรับนักเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยและชอบบรรยากาศเหมือนอยู่กับบ้าน แต่ครอบครัวเจ้าของบ้านก็อาจจะมีเด็กเล็กๆ และอาจจะทำให้คุณรู้สึกว่าโฮมสเตย์ไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการอ่านหนังสือเงียบๆ อย่างไรก็ดี ประโยชน์ข้อสำคัญที่สุดที่คุณจะได้รับก็คือคุณจะได้พูดภาษาอังกฤษทุกวันนั่นเอง
การพักโฮมสเตย์แบบระยะสั้น
ส่วนใหญ่แล้วที่พักแบบโฮมสเตย์จะจัดเตรียมไว้สำหรับช่วงระหว่างเปิดภาคเรียนโดยการตกลงกันเองหรือการจัดหาที่พักผ่านสถาบันที่คุณกำลังจะไปเรียน หากคุณเลือกที่พักแบบอื่น คุณก็ยังสามารถเลือกที่พักประเภทโฮมสเตย์ระยะสั้นแบบที่ให้เช่าครั้งเดียวสำหรับช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ได้ เพื่อเป็นการเริ่มต้นให้รู้จักวัฒนธรรมและชีวิตครอบครัวชาวอังกฤษ การจัดจองที่พักแบบโฮมสเตย์อาจทำได้โดยผ่านองค์กรต่างๆ เช่น โบสถ์ วัด สุเหร่า หรือโบสถ์ยิว และองค์กรการกุศลที่ประสานงานกับนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีองค์กรที่ทำหน้าที่จัดหาที่พักแบบโฮมสเตย์สำหรับช่วงวันหยุดในเมืองต่างๆ ทั่วสหราชอาณาจักรคือ Host UK ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งโดยบริติชเคาน์ซิลเมื่อปี 2534 คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.hostuk.org
ห้องเช่า
ห้องเช่าเป็นห้องที่เช่าอยู่ในบ้านที่มีเจ้าของบ้านอาศัยอยู่ทั้งครอบครัวหรือเป็นบ้านที่เจ้าของบ้านตัวคนเดียวอาศัยอยู่ในบ้านนั้นเช่นกัน โดยเจ้าของบ้านอาจเป็นนักเรียนคนอื่นก็ได้ ห้องเช่าอาจจะฟังดูคล้ายๆ กับโฮมสเตย์ แต่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของบ้านกับคนที่เช่าบ้านจะมีลักษณะเป็นการค้ามากกว่า และอาจจะมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันเพียงน้อยนิดหรืออาจจะไม่มีเลย คุณอาจจะได้ติดต่อกับครอบครัวเจ้าของบ้าน หรือว่าเจ้าของห้องเช่าไม่บ่อยนัก และเจ้าของอาจจะวางตัวกับคุณในฐานะผู้เช่ามากกว่าที่จะเป็นแขกที่มาพักอาศัยแบบจ่ายค่าเช่า โดยคุณจะยังมีความเป็นส่วนตัว ได้รับการให้เกียรติ และมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร แม้ว่าครอบครัวเจ้าของบ้านหรือเจ้าของห้องเช่าอาจจะวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการพาแขกและเพื่อนฝูงเข้าบ้าน ห้องเช่ามักจะลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ตามร้านค้า และซุปเปอร์มาร์เก็ต และผ่านสำนักงานจัดหาที่พักสำหรับนักเรียน ตลอดจนองค์กรศาสนาและองค์กรการกุศล ค่าเช่าห้องเช่าที่รวมค่าอาหารแล้วจะอยู่ระหว่าง 350 ถึง 400 ปอนด์ โดยมักจะรวมค่าสาธาณูปโภคแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ www.britishcouncil.org